วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พลซุ่มยิง

82408240
            พลซุ่มยิง (Sniper) เมื่อได้ยินคำนี้หลายคนจะนึกถึงผู้ที่มีความสามารถสูงในเรื่องของการยิงปืนในระยะ ไกล แต่หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าพลซุ่มยิงนอกจากจะ ต้องมีขีดความสามารถในเรื่องของการยิงปืนแล้วเรื่องของความ สามารถอยู่รอดได้ (survivability) ในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น ในป่า หรือ ในพื้นที่สิ่งก่อสร้าง หน้าที่ของพลซุ่มยิงคือ การวางวิถีกระสุนอย่างแม่นยำไปยังฝ่ายข้าศึก ซึ่งทหารในหน่วยต่างๆ ไม่สามารถทำการยิงได้ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ ระยะทาง ขนาดของกำลังข้าศึก ที่ตั้งฝ่ายข้าศึก หรือว่าการมองเห็น
              ผู้ที่จะเป็นพลซุ่มยิงได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะที่พิเศษอย่างดังตัวอย่างในระเบียบราชการสนาม 23-10  การฝึกพลซุ่มยิง (FM-23-10 Sniper Training) ของกองทัพบกสหรัฐฯ ได้มีแนวทางในการคัดเลือกกำลังพลเข้าทำการฝึกเป็นพลซุ่มยิงจะมีข้อพิจารณาอยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือ
              1. แม่นปืน: ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกเป็นพลซุ่มยิงจะต้องมีความสามารถในการยิงปืนดีเลิศ ถ้าผ่านการแข่งขันทางด้านการยิงปืน หรือ การล่าสัตว์มาก่อนจะเป็นข้อได้เปรียบในการคัดเลือกเข้ารับการฝึก
              2. สุขภาพร่างกายแข็งแรง: ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกเป็นพลซุ่มยิง จะต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและ ถ้าเคยผ่านการเป็นนักกีฬาในประเภทต่างๆ ก็จะได้เปรียบในการคัดเลือกเข้ารับการฝึก
              3. ความสามารถมารถในการมองเห็น: ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกจะต้องเป็นผู้ที่ไม่ใส่แว่นสายตา เพราะจะเป็นการเสี่ยงต่อความล้มเหลวของภารกิจเมื่อแว่นสายตา ชำรุด หรือสูญหายในพื้นที่ปฏิบัติการ นอกจากนี้จะต้องไม่ตาบอกสี เพราะจะมีปัญหาในการแยกเป้าหมายจากสิ่งแวดล้อม
              4. เป็นผู้ที่ไม่สูบบุหรี่: ผู้ที่เข้ารับการฝึกจะต้องไปเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะเป็นการเปิดเผยที่ตั้งของตนเอง นอกจากนี้การปฏิบัติงานจริงจะต้องอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสูบบุหรี่ได้เป็นระยะเวลานาน การที่ไม่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการยิงลดลง
              5. มีความมั่นคงทางอารมณ์สูง: ผู้ที่เข้ารับการฝึก จะต้องเป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีในภาวะต่าง ๆ เพราะการปฏิบัติงานจริงอาจจะต้องตกอยู่ในภาวะที่มีความกดดันสูง การลั่นไก ณ เวลา และสถานที่ที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติงานของพลซุ่มยิง
              6. มีระดับสติปัญญาที่ดี: ผู้ที่เข้ารับการฝึกนั้นจะต้องเรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ ขีปนวิธี กระสุนลักษณะต่าง ๆ การปรับแต่งอุปกรณ์ช่วยเล็ง การใช้วิทยุสื่อสาร การตรวจการณ์ และการปรับการยิง เครื่องยิงลูกระเบิดและปืนใหญ่ การเดินแผนที่และเข็มทิศ การรวบรวมและรายงานข่าวสาร และการพิสูจน์ฝ่ายและอาวุธยุทโธปกรณ์
 องค์ประกอบชุดซุ่มยิงลาดตระเวน
ในหนึ่งชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจะประกอบไปด้วยกำลังพล 2 นายคือ 1) พลซุ่มยิง (Sniper) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการซุ่มยิง และ 2) พลชี้เป้า (Spotter) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่วัดระยะจากที่วางตัวไปยังเป้าหมายแล้วแจ้งให้พลซุ่มยิงทราบ
 _ _snipers_   foxconn  video clips.flv_001738520

โดยหลักการแล้วการการใช้ซุ่มยิงลาดตระเวนเข้าไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ปฏิบัติการจะมีการดำเนินการอยู่ 3 ขั้นตอนคือ
              ขั้นที่ 1 แทรกซึม: การแทรกซึมเป็นการปฏิบัติที่มีความสำคัญต่อภารกิจเป็นอย่างมากเพราะว่า ถ้าชุดซุ่มยิงถูกตรวจพบ ก็ย่อมจะส่งผลให้ภารกิจที่ได้รับมอบมีโอกาสล้มเหลว การวางแผนในการแทรกซึมจะต้องวางอย่างรัดกุม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งการวางแผนจะต้องใช้ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ การข่าว การลวง ความเร็ว และความคล่องตัว การอำพราง การตรวจจับของข้าศึก และการระวัง
ป้องกัน สำหรับการแทรกซึม  ชุดซุ่มยิงสามารถแทรกซึมเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ ได้จากการแทรกซึมทางอากาศ แทรกซึมสะเทินน้ำทะเทินบก และแทรกซึมทางบก
 _ _snipers_   foxconn  video clips.flv_001741920       _ _snipers_   foxconn  video clips.flv_000030040
    การพรางตัว                                                    การแทรกซึม
ขั้นที่ 2 ปฏิบัติต่อเป้าหมาย: สามารถแบ่งการปฏิบัติย่อย ๆ ออกเป็น การเคลื่อนที่เข้าหาเป้าหมาย การเลือกจุดวางตัว การวางตัวและการตรวจการณ์ การรายงาน และ การถอนตัวออกจากจุดวางตัว
 _ _snipers_   foxconn  video clips.flv_002081357
การเคลื่อนที่เข้าปฏิบัติต่อที่หมาย
ขั้นที่ 3 ถอนตัว: การถอนตัวเป็นการปฏิบัติที่ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดีเพราะว่า ถ้าขาดการวางแผนที่รัดกุมชุดซุ่มยิงอาจจะไม่สามารถออกจาก พื้นที่ที่เข้าไปปฏิบัติการได้ การถอนตัว สามารถกระทำได้โดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ หรือทางยานยนต์ นอกจากนี้ ชุดซุ่มยิงจะต้องเตรียมการในเรื่องของการ หลบหลีกและหลีกหนี (Evasion and Escape) ไว้ด้วย เมื่อถูกไล่ติดตามจากกำลังฝ่ายข้าศึก
 _ _snipers_   foxconn  video clips.flv_000103440
ในการปฏิบัติการทางทหารนั้นการใช้การชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจะมีมาตั้งแต่ในอดีตดังเช่น วีรกรรมของ Zaitsev นั้นเป็นที่กล่าวขานในกองทัพแดง (กองทัพรัสเซียในสงครามโลกครั้งที่ 2) และประชานชนในสตาลินกราด รวมถึงกองทัพเยอรมันเป็นอย่างมาก มีการกล่าวว่า Zaitsev นั้นมี body count ถึง 244 ศพ แต่มีการยืนยันจริง เพียง 144ศพ ส่วนคู่ต่อกรของ Zaitsev นั้นคือ พันตรี Thorwald (ในบางรายงานจะใช้ชื่อ Keonig) ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์จากโรงเรียนพลซุ่มยิง ใกล้กรุงเบอร์ลิน ที่ถูกส่งตัวมายังสตาลินกราดเพื่อทำการยุติบทบาทของ Zaitsev (แต่ไม่มีการยืนยันว่า Thorwald มีตัวตนจริง) เรื่องราวเหล่านี้เป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ทหารที่มีการกล่าวถึงพลซุ่มยิง และได้มีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง Enemy at the Gates
             นอกจาก Zaitsev แล้วพลซุ่มยิงที่มีชื่อเสียงในอดีตอีกคนหนึ่งได้แก่ พันจ่าตรี Carlos N. Hathcock II แห่งนาวิกโยธิน สหรัฐฯ ในสงครามเวียตนาม ที่มี body count 93 ศพ (ไม่ยืนยัน 360 ศพ) ทำให้ฝ่ายเวียดนามเหนือตั้งค่าหัวถึง 30,000 เหรียญสหรัฐ หลังจากสงครามเวียดนาม Carlos ได้รับบาดเจ็บ และเกษียณราชการเมื่อปี ค.ศ. 1979 ไปเป็นครูสอนพลซุ่มยิงให้กับชุดซุ่มยิงของหน่วย SWAT ที่มลรัฐเวอร์จิเนีย ขีดความสามารถของ Carlos เป็นที่กล่าวขานกันเพราะยิงเป้าหมายจากระยะที่ประมาณ 700 หลา โดยจะแทรกซึมจาก ระยะ 1000 หลา โดยใช้เวลาประมาณ 4 วันในการแทรกซึมไปยังจุดวางตัวโดยค่อยๆ คลานเข้าไปที่ระยะ 700 หลา ซึ่งเป็นระยะที่ทำการยิงเป้าหมาย
           จากที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นจะพบว่าในอดีตการใช้ชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการจำกัดการเคลื่อนไหวหรือการปฏิบัติการของข้าศึก ชุดซุ่มยิงลาดตระเวน 1 ชุดสามารถที่จะหยุดการเคลื่อนที่ของทหารหนึ่งกองพลได้ถ้ามีการใช้งานที่เหมาะสม ดังนั้นในการปราบปรามกองโจรที่ก่อความไม่สงบนั้น ชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจะเป็นเครื่องมือทางยุทธวิธีที่จะทำให้กองโจรขาดเสรีในการปฏิบัติ
           อย่างไรก็ดีการใช้ชุดซุ่มยิงลาดตระเวนเป็นเรื่องที่ต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมทั้งนี้เพราะข้อจำกัดในการเลือกยิงเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความละเอียดอ่อนสามารถนำมาใช้เป็นเงื่อนไขได้ การปฏิบัติของชุดซุ่มยิงลาดตระเวน ควรจะนำมาใช้กับกองโจรที่อยู่ในป่าซึ่งเป็นพื้นที่ที่ความชัดเจนว่า ถ้าชาวบ้านปกติคงไม่ถืออาวุธและเข้าไปเดินในป่า ดังนั้นชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจึงเหมาะกับการซุ่มยิงหน่วยรบขนาดเล็ก RKK (Runda Kumpulan Kecil) หรือที่เรียกว่า หน่วยคอมมานโด ของกลุ่มก่อความไม่สงบที่มีลักษณะเป็นหน่วยทหารขนาดเล็กทำงานแบบหน่วยจรยุทธ์ มีกำลังพลเป็นระดับเยาวชนและคนหนุ่มที่ได้รับการฝึกจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการยิงปืน เพื่อก่อความไม่สงบ
           ถึงแม้การใช้ชุดซุ่มยิงลาดตระเวนเข้าทำการซุ่มยิง RKK จะช่วยลดขีดความสามารถของกลุ่มก่อความไม่สงบได้ก็ตาม  แต่การดำเนินการเชิงรุกต่อกลุ่มก่อความไม่สงบคงต้องอาศัยหน่วยทหารขนาดเล็กของฝ่ายเราปฏิบัติการร่วมกับชุดซุ่มยิงลาดตระเวน โดยหน่วยทหารขนาดเล็กจะเป็นหน่วยที่ปฏิบัติการหลักทำการลาดตระเวนอย่างเต็มพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทำการซุ่มโจมตี RKK และเข้าตีโฉบฉวยต่อฐานที่มั่น RKK ส่วนชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจะทำหน้าที่สนับสนุน และรวมถึงการปฏิบัติแบบอิสระ

หลักสูตร รบพิเศษในประเทศไทย

หลักสูตร รบพิเศษในประเทศไทย


SPECAIL OPERATIONs หรือที่เรียกกันว่า ปฏิบัติการพิเศษ
ในประเทศไทยนั้น ก็มีหน่วยรบพิเศษ และหน่วยปฏิบัติการพิเศษอยู่ประจำครบทุกเหล่าทัพ และก่อนที่จะมีบุคลากรมาประจำอยู่ในหน่วยต่าง ๆ ได้นั้น ก็จำเป็นที่จะต้องมีหลักสูตรการฝึกที่เป็นมาตรฐานเพื่อผลิตบุคลากรเหล่านั้น มาประจำอยุ่ในหน่วย เราเรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า 'คนเหนือคน' เพื่อมารับภาระกิจที่ต้องอาจจะสละแม้ชีวิต เพื่ออุดมการณ์อันแน่วแน่แห่งตน
ใน แต่ละหลักสูตรนั้น เมื่อจบไปแล้ว จะปฏิบัติงานไม่เหมือนกัน แล้วแต่ว่า หน่วยนั้นรับผิดชอบจุดไหน ไม่ว่าจะเป็นท้องทะเล ใต้ทะเล ชายหาด บนท้องฟ้า ป่า และเมือง แต่ละหลักสูตรจะมีค่าเสี่ยงภัยให้ แต่ละหลักสูตรต่างกันไปตามชั้นยศแม้ ตราบใดที่ยังประจำอยุ่ที่หน่วยนั้นๆ และคุณสมบัติยังอยุ่ครบ
กว่าจะได้แต่ละเครื่องหมายมาประดับที่หน้าอกนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย กว่าจะได้เป็นทหารรบพิเศษ พวกเขาต้องแลกกับอะไรบ้าง? อะไรที่ทำให้พวกเขาไม่หยุดนิ่ง อะไรที่ทำให้พวกเขาต้องพัฒนาตนเอง อะไรหรือ หรือเป็นเพียงความอยากได้ใคร่ดีกะอีแค่เครื่องหมายรบพิเศษ อันเล็กๆ อันนึง หรือมันคืออุดมการณ์อันแรงกล้า ของลูกผู้ชายที่ไม่เคยหยุดนิ่ง และพร้อมจะฝ่าฟันอุปสรรคทุกรูปแบบ ไม่ว่าหนทางข้างคือความตายก็ตาม อะไรที่ทำให้เขาไม่รักตัว ไม่กลัวตาย เขารักอะไร ยอมพลีเพื่อสิ่งใด ความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตลูกผู้ชาย กับเครื่องหมายรบพิเศษที่ใช้ทั้งหยาดเหงื่อ แรงกาย และพลังใจ บวกกับความอดทนที่ไม่เคยมีขีดจำกัดของทหารรบพิเศษ พวกเขาต้องพยายามแค่ไหน เพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องหมายแห่งเกียรติยศประดับหน้าอก และให้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ทหารชั้นรบพิเศษ ไม่ว่าจะต้องแลกด้วยหยาดเหงื่อ หยดน้ำตา หรือแม้ชีวิตก็ตาม พวกเขาได้พิสูจน์แล้วว่า พวกเขาผ่านบทพิสูจน์ของยอดมนุษย์ ในยามที่เหนื่อยที่สุด หิวที่สุด ผิดหวังที่สุด ความเจ็บปวด ความทรมาน ถูกเล่าผ่านเครื่องหมายรบพิเศษ อันแล้วอันเล่า
เพราะอะไรพวกเขาต้องยอม หลั่งเลือด น้ำตา ยอมพลีได้แม้กระทั่งชีวิต เพื่อให้ได้แค่เครื่องหมายรบพิเศษมาติดหน้าอก
อุดมการณ์และศรัทธา จะเป็นคำตอบอย่างดีว่า...พวกเขาทำไปเพื่ออะไร
จะอยู่อย่างไร้ความหมาย หรือจะยอมตายเพื่อบางสิ่ง

ความพร้อมที่จะเผชิญกับความยุ่งยากท้าทาย
น่า สะพรึงกลัวในทุกรูปแบบ
ตอบสนองกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่ไม่อาจคาดเดาได้
แก้ ปัญหาทุกอย่างได้ทันท่วงที
สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นด้วยพลังของกำลังพล
ที่ ทรงประสิทธิภาพ
อย่างนักรบปฏิบัติการพิเศษ

แม้จะถูกต้านทานอย่าง หนักจากศรัตรูที่โหดเหี้ยม ภูมิประเทศ และลมฟ้าอากาศจะเลวร้ายสักเพียงใดก็ตาม ก็หาทำให้ทหารหน่วยนี้เสียขวัญ จนเปลี่ยนความตั้งใจแต่อย่างใดไม่ เพราะเรายึดมั่นเสมอว่า ภาระกิจเหนือสิ่งอื่นใดแม้ชีวิต

สมรภูมิสร้างทหาร สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ

หลักสูตรรบพิเศษนั้นหล่อหลอมลูกผู้ชายให้ แข็งแกร่งขึ้น ทำให้จิตใจเข้มแข็ง มีความกล้าหาญ ไม่เกรงกลัวต่ออันตรายทุกรูปแบบ ต้องมีความสามารถในทุกๆด้าน ต้องมีความอดทน ต่อทุกสภาพอากาศไม่ว่าสภาพอากาศในตอนนั้นจะเลวร้ายเพียงใด หรือไม่ว่าจะต้องอดทนต่อความเจ็บป่วย ร่างกายต้องแข็งแกร่งกว่าทหารหน่วยธรรมดา มาตรฐานการทดสอบร่างกายต้องสูงกว่าหน่วยอื่นๆ ต้องตกอยุ่ในสภาวะที่กดดัน ต้องช่วยเหลือเพื่อนไม่ว่าเพื่อนคนนั้นจะเป็นอย่างไร เพราะเพื่อนก็คือกำลังหลัก และกำลังสำคัญของหลักสูตร ต้องเหนื่อยมากกว่าที่เป็นอยุ่ และความเหนื่อยล้าถึงที่สุดนั้นเอง ทำให้คนเราเผยธาตุแท้ของตนเองออกมา ใครคนใดที่มีมาตรฐานไม่ได้ตามความต้องการของหน่วยก็ต้องถูกคัดออกไป แม้อีกแค่ ๒-๓ วันเขาจะจบหลักสูตรก็ตาม เพราะหน่วยต้องการคนที่แข็งแกร่งจริงๆ เท่านั้น หลักสูตรรบพิเศษเขามีไว้ให้คนพิเศษเท่านั้น คนธรรมดาอย่าได้หวังว่าจะได้เข้าไปสัมผัส ใครๆต่างเรียกหลักสูตรนี่ว่า หลักสูตรนรก หากคุณไม่พร้อม จงอย่าก้าวเข้าไป หลักสูตรนี้เขามีไว้ให้คนพิเศษ ที่พร้อมทั้งกำลังกาย กำลังใจ และศรัทธา หากคุณมีสิ่งเหล่านี้ หลักสูตรรบพิเศษยินดีต้อนรับเสมอ
ทหารอาชีพ คือผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นทหารพันธุ์แท้ ผู้ที่พร้อมเสียสละตนเอง ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เป็นทหารที่มีคุณภาพ และใช้เครื่องหมายที่บ่งบอกคุณภาพ พัฒนาและสร้างความก้าวหน้าให้แก่กองทัพ จะเห็นได้ว่า ในหลักสูตรหนึ่งๆ ส่วนมาก ทหารชั้นรบพิเศษ เป็นทหารที่มีชั้นยศเพียงประทวน จะเห็นว่ามีสัญญาบัตรเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ก้าวสู่เส้นทางแห่งศักดิ์ศรี ของลูกผู้ชายพร้อมๆ กับการเดินเข้าสุ่เส้นทางแห่งความตาย ในทุกๆ หลักสูตร ในการเข้ารับการฝึกแต่ละครั้ง จำหน่ายชีวิตหรือตายได้ไม่เกิน ๕% ของผู้ที่ได้รับการฝึก เป็นการตายที่ถูกกฏหมาย ไม่มีใครสามารถเอาผิดครูฝึกได้ นอกจากเสียว่า ครูฝึกจะประมาท เลินเล่อ หรือโหดเกินกว่าเหตุ ก่อนการฝึกทุกครั้ง จะมีการลงนามหรือในสัญญาก่อนเข้ารับการฝึก ว่าจะไม่เอาผิดกับทางราชการ ในกรณีที่เกิดเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ มีคำกล่าวของนักรบพิเศษที่ว่า ภาระกิจเหนือสิ่งอื่นใด แม้ชีวิต MISSION BEYOND DEATH
ครูฝึกคือพระเจ้า กฏข้อที่ ๑.ห้ามขัดใจครู กฏข้อที่ ๒.ถ้าไม่เข้าใจให้กลับไปอ่านข้อ ๑ ใหม่ คำสั่งของครูฝึกคือบัญชาจากสวรรค์ ไม่ว่าครูฝึก จะด่าทอ เยาะเย้ย ถากกาง ด้วยถ้อยคำอันหยาบคาย นั่นล่ะคือเสียงจากสวรรค์ นักเรียนรบพิเศษ เป็นสมบัติดิ้นได้ของครูฝึก เป็นสมบัติที่ครูฝึกทั้งหลายผลัดกันชม ผลัดกันเอาตีนกระทืบ ถีบ ตบกบาล หรือฟาดด้วยสายยาง ไม้ หวาย หรืออะไรก็ตามที่จะสรรหาได้จากภูมิประเทศนั้นๆ นักเรียนก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะต่อต้านหรือโกรธแค้น หากจะคิดก็ได้แค่คิดเท่านั้น ศักดิ์ศรีของลูกผู้ชายไม่ว่าเหล่าใด สีใด สุดท้ายก็ต้องกองไว้แทบเท้าครูฝึกทั้งสิ้น แล้วคุณล่ะพร้อมหรือยัง ที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นนักรบพิเศษ ก้าวสู่เส้นทางแห่งศักดิ์ศรีของลูกผู้ชายหลักสูตรพิเศษที่มีไว้ให้คนพิเศษ เท่านั้น หลักสูตรนี้ไม่มีที่ว่างสำหรับคนอ่อนแอ
หลักสูตรรบพิเศษทั้ง ๔ เหล่าทัพ*

กองทัพบก
๑.หลักสูตรจู่โจม RANGER

-เครื่องหมายเชิด ชูเกียรติ รูปเสือคาบดาบล้อมด้วยช่อชัยพฤกษ์
-ระยะเวลาในการฝึก ๑๐ สัปดาห์
-ภาระกิจ ปฏิบัติงานในป่า ภูเขา ที่ทุรกันดาร มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ทั้งรบนอกแบบและรบตามแบบ
๒.หลัก สูตรการกระโดดร่มแทรกซึมเบื้องสูงทางยุทธวิธีแบบ HAHO High Altitude High Opening พรานเวหา
-เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ รูปปักสัญลักษณ์พลร่มสีเหลืองประกอบเครื่องสนามและอาวุธ และมีตัวอักษรประกอบว่า "พรานเวหา"
-ระยะเวลาในการฝึก ๕ สัปดาห์
-ภาระ กิจ แทรกซึมเข้าหลังแนวข้าศึกของหน่วยรบพิเศษ เพื่อรวบรวมข่าวสาร ค้นหาเป้าหมาย และชี้เป้าหมายให้กำลังทางอากาศ
๓.หลักสูตรทำลายล้างวัตถุ ระเบิด ทรล.EOD (Explosive Ordnance Disposal)
-เครื่องหมายเชิดชู เกียรติ กงจักร สายฟ้า และลูกระเบิด ทำด้วยโลหะสีเงินทำให้เป็นมันมีรูปเปลวระเบิดทำด้วยโลหะสีทองอยู่ตรงกลาง โอบล้อมจากเบื้องล่างขึ้นบนด้วยช่อชัยพฤกษ์สีเงิน
-ระยะเวลาในการฝึก ๑๖ สัปดาห์
-ภาระกิจ รับผิดชอบเรื่อง ระเบิด กระสุนปืน ผลิต กู้และทำลาย

กอง ทัพอากาศ
๑.หลักสูตรคอมมานโด Commando Anti-Terrorism Commandos
-เครื่อง หมายเชิดชูเกียรติ รูปนกอินทรีย์ กรงเล็บข้างซ้ายจับดาบ กรงเล็บข้างขวาจับสายฟ้า
-ระยะเวลาในการฝึก ๑๒ สัปดาห์
-ภาระกิจต่อ ต้านการก่อการร้ายสากล และอารักขาบุคคลสำคัญ มีความชำนาญในการยิงปืน การต่อสู้ป้องกันตัว การโดดร่มทางยุทธวิธี เป็นชุดปฏิบัติการ ที่มีหน้าที่ในการปราบปราม ผู้ก่อการร้ายสากล สามารถซ่อนตัว เพื่อทำหน้าที่พลซุ่มยิง ได้เป็นเวลายาวนาน และใช้อาวุธปืนได้อย่างแม่นยำ ได้รับการฝึกใช้ปืนกลมือ ปืนพก และวัตถุระเบิด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.หลัก สูตรPJ Parachut Jumpers- Search and Rescue
-เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ รูปนกอินทรีย์ กรงเล็บทั้งสองข้าง จับสายฟ้า
-ระยะเวลาในการฝึก ๒๔ สัปดาห์
-ภาระกิจค้นหาและกู้ภัย(Search And Rescue..คือมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทางอากาศจากอากาศยานอุบัติเหตุ ทั้งในพื้นที่การรบและ พื้นที่ปกติ ควบคุมการรบ (Combat Control Team)ทำสนามโดดร่ม(DZ)เตรียมการขึ้น-ลงของอากาศยาน ณ สนามบินฉุกเฉิน ควบคุมการโจมตี ทางอากาศที่อาจทำให้เกิดอันตราย ต่อหน่วยทหารฝ่ายเดียวกัน (Close AIR Support)
๓.หลักสูตรสนับสนุนส่งทางอากาศ Airborne
-เครื่อง หมายเชิดชูเกียรติ รูปร่มสีทอง มีปีกสีทองทั้งสองด้านตรงกลางเป็นอาร์มธงชาติ
-ระยะเวลาในการฝึก ๕ สัปดาห์
-ภาระกิจ ปฏิบัติหน้าที่ ในด้านการให้การสนับสนุน การส่งทางอากาศ การพับ และการซ่อมบำรุงร่ม พร้อมอุปกรณ์ ตลอดจนการเก็บรักษา และแจกจ่ายร่มพร้อมอุปกรณ์ ให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษ นอกจากนั้นยังปฏิบัติหน้าที่ ในการฝึกอบรมผู้ทำการในอากาศ ประเภทนักโดดร่มจากอากาศยานเป็นประจำ ให้มีขีดความสามารถ ในการโดดร่มทางยุทธวิธี และทางกีฬา

กองทัพเรือ
๑.หลักสูตรการรบ พิเศษ แขนงการลาดตระเวนสะเทินน้ำ สะเทินบกและจู่โจมนาวิกโยธิน Recon-naissance
-เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ สัญลักษณ์ น้ำ ฟ้า ฝั่ง เป็นรูปท้องทะเล ท้องฟ้า ภูเขา และหน้าผา ระหว่างสมอสองตัวที่พันกันด้วยเชื้อก มีครุฑเหยียบโลกที่ปรากฏอยุ่บนแผนที่ประเทศไทยมีสมอเสียบปัก
-ระยะเวลาใน การฝึก ๑๓ สัปดาห์
-ภาระกิจ ปฏิบัติงานในพื้นที่ราบลุ่มป่าชายเลน และสำรวจหาด ชำนาญการรบในเวลากลางคืน
๒.หลักสูตรทำลายใต้น้ำจู่โจม UDT/SEAL
เป็นหลักสูตรที่หนักที่สุด หินที่สุด นานที่สุด จบยากที่สุด
-เครื่อง หมายเชิดชูเกียรติ ฉลมขาวคู่เหนือเกลียวคลื่นสีทอง ตรงกลางรูปอาร์มธงชาติสมอเรือ
-ระยะเวลาในการฝึก ๓๑ สัปดาห์
-ภาระกิจ ปฏิบัติงานในพื้นที่ท้องทะเล ทั้งทางบกและทางอากาศ เป็นนักรบสามมิติ น้ำ ฟ้า ฝั่ง SEA AIR LAND ชำนาญการรบในเวลากลางคืน ต่อต้านการก่อการร้ายสากล มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษทางเรือ
๓.หลักสูตรถอดทำลายวัตถุระเบิด EOD
-เครื่อง หมายเชิดชูเกียรติ ตรงกลางรูปเป็นรูประเบิดมีสายฟ้าล้อมทั้ง ๔ ด้าน มีช่อชัยพฤกษ์ล้อมรอบตรงกลางอาร์มธงชาติสมอเรือ
-ระยะเวลาในการฝึก ๑๘ สัปดาห์
-ภาระกิจ ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ที่มีวัตถุระเบิด เก็บกู้ และทำลาย มีความชำนาญเรื่องระเบิด
๔.หลักสูตรส่งทางอากาศ กระโดดร่มลงทะเล
-เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ปีกทั้งสองด้านและร่มด้านบนเป็นสีทอง ตรงกลางเป็นสมอสีเงิน
-ระยะเวลาใน การฝึก ๕ สัปดาห์

ตำรวจ
๑.หลักสูตรกระโดดร่ม ตำรวจพลร่มค่ายนเรศวร Airbore
-เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ปีกร่มมี ๓ ดาว ดาวดำคู่ด้านล่างซ้ายขวาของปีก ส่วนดาวบนยอดหัวร่มเป็นดาวขาวล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์
-ระยะเวลาในการฝึก ๕ สัปดาห์
-ภาระกิจ ปฏิบัติงานในพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกลคมนาคม ชำนาญการรบนอกแบบ
๒.หลักสูตรต่อต้านการก่อการร้ายสากล Counter Terrorist
-เครื่อง หมายเชิดชูเกียรติ ปีกทั้งสองข้างเเป็นรูปลูศรวิ่งเข้าหาอาร์มตรงกลางเป็นสายฟ้า
-ระยะเวลา ในการฝึก ๒๔ สัปดาห์
-ภาระกิจ ปฏิบัติงานในพื้นที่เขตเมือง ชำนาญการรบประชิดแย่งชิงตัวประกันในเวลากลางคืน ต่อต้านการก่อการร้าย มีความชำนาญในการใช้อาวุธทุกรูปแบบ
๓.หลักสูตรเหินเวหา
-เครื่องหมาย เชิดชูเกียรติ ปีกร่มมี ๓ ดาว ดาวดำคู่ด้านล่างซ้ายขวาของปีก ส่วนดาวบนยอดหัวร่มเป็นดาวขาวล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์ อาร์มตรงกลางเป็นธงชาติมีรูปนักเหินเวหา
-ระยะเวลาในการฝึก ๔ สัปดาห์
*ผู้ เข้ารับการฝึกต้องจบหลักสูตรส่งทางอากาศก่อน*

ทหารเสือราชินี
ความ เป็นมาของหลักสูตร ทหารเสือ เป็นหลักสูตรพิเศษหลักสูตรหนึ่งของกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อค่ายอันเป็นที่ตั้งของกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ฯ ว่า ค่ายนวมินทราชินี พร้อมทั้งพระราชทานสมญานามของกรมฯ ว่า กรมทหารเสือนวมินทราชินี
ต่อมาในปี ๒๕๒๔ กรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ฯ ได้รับอนุมัติจากกองทัพบกให้ดำเนินการฝึกหลักสูตรทหารเสือ เพื่อเป็นการสนองในพระ ราชเสาวนีย์ ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์ผู้บังคับการพิเศษของกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ฯ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้กำลังพลได้รับการฝึกพิเศษ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจทุกรูปแบบ ทุกสภาพภูมิประเทศ โดยคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึก ต้องเป็นกำลังพลที่รับราชการอยู่ในหน่วยของกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ฯ และส่วนหนึ่งยังแบ่งให้กับกำลังพลนอกหน่วยที่กองทัพบกอนุมัติให้เข้ารับการ ฝึก

-เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ เครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารเสือ ทำด้วยโลหะ ประดับหน้าอกเสื้อชุดปกติ เป็นรูป หัวใจสีม่วงประดับพระนามาภิไธยย่อ สก. หมายถึง ผู้บริสุทธิ์ ซื่อสัตย์สุจริต และจริงใจ ทั้งนี้เพราะผู้ที่ใกล้ตาย หัวใจจะกลายจากสีแดงเป็นสีม่วง ในห้วง เวลานั้น บุคคลผู้นั้นจะไม่พูดปดหรือปิดบังสิ่งใด ๆ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานหัวใจสีม่วงนี้แก่กำลังพล ด้วยทรงมุ่งหวังให้ทหารเสือทุกนายมีความซื่อสัตย์สุจริต และจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ส่วนรูป เสือประคองหัวใจสีม่วง หมายถึง กำลังพลทหารเสือทุกนายที่เทิดทูนความซื่อสัตย์ สุจริต และจงรักภักดีแทบเบื้องพระยุคลบาท ภูเขา เกลียวคลื่น ก้อนเมฆ หมายถึงทุกหนแห่ง ไม่ว่าบนฟ้า พื้นดิน ภูเขา หรือในทะเล ทหารเสือทุกนายพร้อมจะดั้นด้นไป เพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของชาติ และองค์พระมหากษัตริย์
-ระยะเวลาในการฝึก ๑๖ สัปดาห์

หน่วยที่ เปิดหลักสูตรปฏิบัติการพิเศษ
-หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ
-หน่วยถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธ กองทัพเรือ
-หน่วย บัญชาการนาวิกโยธิน แผนกรบพิเศษ ค่ายกรมหลวงชุมพร กองทัพเรือ
-ตำรวจพล ร่ม ค่ายนเรศวร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
-ศูนย์การทหารอากาศโยธิน กองบัญชาการยุทธทางอากาศ กองทัพอากาศ
-ศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ กองทัพบก
-โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ กองทัพบก
-โรงเรียนสงคราม พิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ กองทัพบก
-กรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ฯ กองทัพบก
รูปภาพ: locktoon-1240831720-125-26-101-244.jpg

ธงชัยเฉลิมพล

ธงชัยเฉลิมพล
 loading picture loading picture loading picture

".... ทหารย่อมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับที่จะป้องกันพระราชอาณาเขต และเป็นเหตุที่จะให้อำนาจบ้านเมืองกว้างขวางมั่นคงยั่งยืน ทหารไม่เป็นแต่สำหรับที่จะต่อสู้ในเวลาที่เกิดการศึกสงครามอย่างเดียว ย่อมเป็นประกัน ห้ามการศึกสงครามมิให้เกิดมีได้ด้วย เพราะฉะนั้นจึงต้องกล่าวว่า การที่มีทหารประจำรักษาพระราชอาณาเขต อันพรักพร้อมไปด้วยเครื่องศาสตราวุธ และมีความกล้าหาญนั้น เป็นเครื่องป้องกันการที่จะเกิดสงครามได้ เหตุฉะนี้กองทหารทั้งปวงจึงเป็นผู้มีความชอบอยู่เนืองนิตย์...."
พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในวันพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหารต่าง ๆ  เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2434

 loading picture



loading flag
ธงจุฑาธุชธิปไตย   นับเป็นธงชัยเฉลิมพลประจำกองทัพธงแรกของไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างขึ้น พระราชทานแก่กองทัพไทยเมื่อปี พ.ศ. 2418 เพื่อแทนพระองค์ไปในกองทัพ ที่ยกไปปราบพวกฮ่อที่เข้ามาก่อการจลาจลในแคว้นหัวพันทั้งห้าทั้งหก และแคว้นสิบสองปันนาของไทยในครั้งนั้น
loading flag
ธงมหาไพชยนต์ธวัช   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2455 เพื่อพระราชทานให้เป็น ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทัพอีกธงหนึ่ง คู่กับธงจุฑาธุปธิปไตย

ธงชัยเฉลิมพล เป็นธงประจำหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ธงชัยเฉลิมพลถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของทหาร  ที่ทหารทุกคนต้องเคารพสักการะ และพิทักษ์รักษาไว้ด้วยชีวิต การปฏิบัติต่อธงชัยเฉลิมพลทุกขั้นตอน  ต้องเป็นไปตามพิธีการ ระเบียบแบบแผนที่วางไว้อย่างเข้มงวดกวดขัน ในโอกาสที่จะเชิญธงชัยเฉลิมพลออกประจำที่ จะต้องเป็นพิธีการที่มีความสำคัญเกี่ยวกับเกียรติยศและเชิดหน้าชูตาเท่านั้น เช่น พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนของทหาร และไปราชการสงคราม เป็นต้น
ธงชัยเฉลิมพล เริ่มมีในกองทัพบก เดิมจำแนกออกเป็นสองชนิด คือ
     - ชนิดแรก ธงชัยประจำกองทัพ อันได้แก่ ธงจุฑาธุชธิปไตย และ ธงไพชยนต์ธวัช
     - ชนิดที่สอง ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร
สำหรับธงไชยเฉลิมพลประจำกองทหาร  องค์พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นพระราชทานแก่หน่วยทหารเป็นคราว ๆ ละหลายธง และในคราวหนึ่ง  ๆ ธงจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จะผิดกันในส่วนที่เป็นนายหน่วยเท่านั้น
 loading
ธงชัยเฉลิมพล ได้เข้าประกอบพิธีสำคัญทางศาสนา ในพระราชพิธีตรึงหมุด ธงชัยเฉลิมพล โดยองค์พระมหากษัตริย์ ทรงประกอบพิธีนี้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท่ามกลางพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นผู้ใหญ่  พระมหากษัตริย์ทรง  ตรึงธงแต่ละผืนติดกับด้ามธง โดยทรงตอกฆ้อนเงินลงบนตะปูทองเหลืองอย่างแน่น ธงหนึ่งมีรูตะปูประมาณ 32-35 ตัว  ที่ส่วนบนของคันธงจะมีลักษณะเป็นปุ่มโลหะกลึงกลมสีทองภายในกลวง  ปุ่มกลมนั้นทำเป็นฝาเกลียวปิด-เปิดได้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงบรรจุ เส้นพระเจ้า พร้อมด้วยพระพุทธรูปที่ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกแล้ว  ชื่อ พระยอดธง ลงในปุ่มกลมแล้วทรงปิดฝาเกลียวขันแน่น ทรงเจิมแป้งกระแจะจันทน์ที่ยอดธงทุกคัน  พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา  ตั้งแต่เริ่มพิธีจนจบพิธี

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สาระน่ารู้เกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร หน้าที่ของลูกผู้ชายไทย



สรรเสริญลั่นหน้าที่ทหาร"ป้องสถาบัน"

ทบ. โต้เสื้อแดงฟ้อง “ประยุทธ์” กลับ ลั่นหน้าที่ทหารต้องป้องสถาบัน ชี้แม้เลี่ยงบาลี แต่ใครฟังก็รู้ "โจกแดงหมิ่น" ยันทหารไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด จี้แดงหยุดจาบจ้าง ปลุกคนไทยประณามพวกหมิ่น


(18เม.ย.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีที่แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แจ้งความดำเนินคดี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ข้อหาหมิ่นประมาทและแจ้งความเท็จว่า การที่ผบ.ทบ.มอบหมายให้นายทหารพระธรรมนูญไปร้องทุกข์กล่าวโทษ เป็นการทำตามบทบาทหน้าที่ของกองทัพ ไม่ได้มุ่งหวังผลทางการเมือง หรือทำนอกกรอบหน้าที่ทหารตามที่แกนนำ นปช.วิจารณ์ ซึ่งทหารที่อยู่ในกองทัพมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า กองทัพมีหน้าที่ปกป้องและรักษาไว้ซึ่งสถาบัน และคำถวายสัตย์ปฏิญาณตน บอกว่าทหารมีหน้าที่เทิดทูน และปกป้องไว้ซึ่งองค์พระบุรพกษัตริย์เจ้า สิ่งที่เกิดขึ้นคนไทยได้ฟังคำปราศรัยของแกนนำเหล่านั้นแม้จะเลี่ยงบาลี แต่มนุษย์ปุถุชนธรรมดาฟังแล้วก็รู้ว่าหมายความว่าอย่างไรพ.อ.สรรเสริญ ยืนยันว่า กองทัพบกไม่ได้ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด แต่เป็นการทำตามบทบาทหน้าที่ และหากพรรคการเมืองจะหาเสียงหรือพูดเรื่องอะไรก็ถือเป็นเรื่องของพรรคการเมืองนั้น ซึ่งมีเรื่องมากมายให้พูด ไม่จำเป็นต้องมีการพาดพิงสถาบัน ขณะนี้ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีเพราะมีผู้ใหญ่ในพรรคการเมืองไม่เห็นด้วยกับการแสดงออกของแกนนำ นปช. และสมาชิกพรรคที่ออกมาปราศรัยพาดพิงสถาบันเช่นนั้น ส่วนที่บอกว่ากองทัพจำกัดความจงรักภักดีไว้ฝ่ายเดียว ขอยืนยันว่าไม่ใช่ เราอยากให้คนไทยทุกคนทุกฝ่ายจงรักภักดีเหมือนกัน แต่สิ่งที่แกนนำเหล่านั้นพูดถึง คนที่ฟังภาษาคนรู้เรื่องต้องเข้าใจว่าหมายความว่าอย่างไร
 “กองทัพบกขอเรียกร้องให้หยุดพฤติกรรมจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันอันเป็นที่รักของพวกเรา และขอให้คนไทยออกมาประณามกลุ่มคนที่กระทำต่อสถาบันเบื้องสูง ซึ่งเราคิดว่าคนที่อยู่ในกลุ่ม นปช.หรือ สังกัดพรรคการเมืองนั้น ไม่ได้เป็นอย่างนั้นทั้งหมด ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี ที่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่แกนนำ นปช.บางคนทำ ทั้งนี้คงไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจากนี้ไปกลุ่มคนเหล่านี้จะถูกดำเนินการอย่างไรต่อไป ขึ้นอยู่กับกระบวนการยุติธรรม การจะนำเงื่อนไขเหล่านี้ไปปลุกม็อบ สร้างกระแสก็เป็นเรื่องของเขา แต่ขอให้สังเกตว่าที่ผ่านมาถ้าผลการตัดสินออกมาถูกใจให้ประกันตัว ก็จะบอกว่ากระบวนการยุติธรรมมีความชอบธรรม แต่ถ้าผลออกมาไม่ถูกใจตัวเองก็บอกว่าสองมาตรฐาน” โฆษกกองทัพบก กล่าว

ทหารรักษาพระองค์

ทหารรักษาพระองค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ร.1 รอ. ขณะตั้งแถวกองรักษาการณ์เฉพาะกิจเมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวัง
ทหารรักษาพระองค์ คือ หน่วยทหารที่มีหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์โดยใกล้ชิด เฉพาะกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เนื่องด้วยเป็นหน่วยที่ถวายการรับใช้ต่อองค์พระมหากษัตริย์อย่างใกล้ชิดที่สุด (คำว่า "ราชวัลลภ" นี้ แปลได้ว่า ผู้เป็นที่รัก สนิท คุ้นเคยของพระราชา)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

การแต่งกายของทหารรักษาพระองค์เมื่อแรกตั้ง
กิจการทหารรักษาพระองค์และทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 ในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมบุตรในราชตระกูลและบุตรข้าราชการที่ยังเยาว์วัยมาทดลองฝึกหัดเป็นทหารตามยุทธวิธีแบบใหม่เช่นเดียวกับกรมทหารหน้า ซึ่งในชั้นแรกนั้นมี 12 คน และให้ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนในเวลาทรงบาตร ตลอดจนตั้งแถวรับเสด็จฯ ณ ที่นั้นทุกเวลาเช้า มหาดเล็กเหล่านี้เอง (ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา”) คือจุดเริ่มต้นของกิจการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ของไทย
ปลายปี พ.ศ. 2411 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกผ่านพ้นไปแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมทหารมหาดเล็กข้าหลวงเดิมจำนวน 24 คน ตั้งขึ้นเป็นหน่วยทหารอีกหน่วยหนึ่ง เรียกว่า “ทหารสองโหล ถือปืนชไนเดอร์” มีหน้าที่เฝ้าพระฉากตามเดิมแต่ในตอนเช้าและตอนเย็น ต้องมารับการฝึกทหาร
พ.ศ. 2413 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) จางวางมหาดเล็ก ทำการคัดเลือกบรรดาบุตรในราชตระกูล และบุตรข้าราชการที่เป็นทหารมหาดเล็ก เพื่อจัดตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทำหน้าที่รักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด และตามเสด็จในเวลาเสด็จประพาสหัวเมือง ในชั้นนี้คัดเลือกไว้ 48 คน เมื่อรวมทหารมหาดเล็ก 2 โหลเดิมด้วยแล้ว จึงมีทหารมหาดเล็กทั้งหมด 72 คน
เมื่อการปฏิบัติหน้าที่กว้างขวางขึ้น จำนวนทหารที่มีอยู่เดิมจึงมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรีคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นทหารเพิ่มขึ้น ในการนี้ พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) ได้นำบุตรชาย คือ นายเจิม ชูโต (ต่อมาคือเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เจิม แสง-ชูโต) เข้าถวายตัวเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ โดยสมัครเป็นตัวอย่างคนแรก (เนื่องจากสมัยนั้นคนไทยไม่นิยมเป็นทหาร) ทำให้มีจำนวนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์เพิ่มขึ้นทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และที่เป็นเด็ก เพราะทุกคนต่างก็เห็นและรู้สึกเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลในการที่บุตรหลานของตนได้เข้ารับราชการใกล้ชิดพระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เด็มยศกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามเหล่าทหารรักษาพระองค์ เนื่องในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2548
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหน่วยทหารดังกล่าวขึ้นเป็น กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และทรงดำรงพระยศเป็นนายพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมด้วยพระองค์เอง ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จนมั่นคงดีขึ้น และได้ทรงขนานนามหน่วยนี้เสียใหม่ว่า กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในปี พ.ศ. 2414 (ปัจจุบันหน่วยทหารนี้คือ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์)
หน่วยทหารรักษาพระองค์ได้มีวิวัฒนาการต่อมาตามลำดับจากต้นกำเนิดดังกล่าวมาแล้ว ต่อมาจึงมีการก่อตั้งหน่วยทหารรักษาพระองค์ที่เป็นหน่วยรบจากเหล่าต่างๆ เช่น ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ฯลฯ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับกองพัน และหน่วยบังคับบัญชาของหน่วยนั้นในระดับกรมมักจะตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้อยู่ใกล้ชิดองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง แต่ก็มีบางหน่วยที่มีที่ตั้งอยู่นอกกรุงเทพมหานคร เช่น กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี เป็นต้น

[แก้] ธงชัยเฉลิมพลหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

ธงชัยเฉลิมพลหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธงชัยเฉลิมพล
ปกติหน่วยทหารรักษาพระองค์จะมีธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วยเป็นพื้นสีธงชาติ ตรงกลางมีรูปตราประจำเหล่าทัพของตนเองเหมือนกับหน่วยทหารทั่วไป แต่สำหรับหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์บางหน่วยจะมีธงชัยเฉลิมพลพิเศษสำหรับหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์โดยเฉพาะ ธงนี้มีลักษณะคล้ายกับธงชัยเฉลิมพลปกติ เว้นแต่ว่าตรงกลางธงเป็นรูปช้างเผือกในกรอบสีเหลี่ยมสีแดง สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อปี พ.ศ. 2496 และพระราชทานแก่หน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 โดยหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานธงหน่วยแรกคือ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

[แก้] หน่วยทหารรักษาพระองค์ในประเทศไทย

ปัจจุบันกองทัพไทยมีหน่วยทหารรักษาพระองค์ทั้งสิ้น 69 หน่วย (พ.ศ. 2550) ส่วนใหญ่อยู่ในสังกัดกองทัพบกและเป็นเหล่าทหารราบ

[แก้] กองทัพบก

หน่วยทหารรักษาพระองค์ของกองทัพบกมีดังนี้
เหล่าทหาร/ระดับกองพลกรมกองพันรวม
ราบ261927
ม้า131115
ปืนใหญ่ (รวม ปตอ.)-2810
ช่าง-123
สื่อสาร--22
ขนส่ง-1-1
นักเรียนนายร้อย-1-1
รวม3144259

[แก้] นักเรียนนายร้อย

[แก้] เหล่าทหารราบ

[แก้] เหล่าทหารม้า

การสวนสนามของ ม.พัน.29 รอ. ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ประจำปี พ.ศ. 2549

[แก้] เหล่าทหารปืนใหญ่

ทหารปืนใหญ่สังกัดป.พัน 1 รอ. ปฏิบัติหน้าที่ยิงสลุตถวายพระพร 21 นัด ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2549

[แก้] เหล่าทหารช่าง

[แก้] เหล่าทหารสื่อสาร

[แก้] เหล่าทหารขนส่ง

[แก้] กองทัพเรือ

ทหารรักษาพระองค์สังกัด กรม นนร.รอ. รร.นร.
กองทัพเรือ มีหน่วยทหารรักษาพระองค์รวม 5 หน่วย คือ

[แก้] กองทัพอากาศ

ทหารรักษาพระองค์สังกัด กรม นนอ.รอ. รร.นอ. ในพิธีถวายสัตย์ฯ ประจำปี พ.ศ. 2549
กองทัพอากาศมีหน่วยทหารรักษาพระองค์รวม 7 หน่วย ดังนี้