วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พลซุ่มยิง

82408240
            พลซุ่มยิง (Sniper) เมื่อได้ยินคำนี้หลายคนจะนึกถึงผู้ที่มีความสามารถสูงในเรื่องของการยิงปืนในระยะ ไกล แต่หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าพลซุ่มยิงนอกจากจะ ต้องมีขีดความสามารถในเรื่องของการยิงปืนแล้วเรื่องของความ สามารถอยู่รอดได้ (survivability) ในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น ในป่า หรือ ในพื้นที่สิ่งก่อสร้าง หน้าที่ของพลซุ่มยิงคือ การวางวิถีกระสุนอย่างแม่นยำไปยังฝ่ายข้าศึก ซึ่งทหารในหน่วยต่างๆ ไม่สามารถทำการยิงได้ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ ระยะทาง ขนาดของกำลังข้าศึก ที่ตั้งฝ่ายข้าศึก หรือว่าการมองเห็น
              ผู้ที่จะเป็นพลซุ่มยิงได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะที่พิเศษอย่างดังตัวอย่างในระเบียบราชการสนาม 23-10  การฝึกพลซุ่มยิง (FM-23-10 Sniper Training) ของกองทัพบกสหรัฐฯ ได้มีแนวทางในการคัดเลือกกำลังพลเข้าทำการฝึกเป็นพลซุ่มยิงจะมีข้อพิจารณาอยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือ
              1. แม่นปืน: ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกเป็นพลซุ่มยิงจะต้องมีความสามารถในการยิงปืนดีเลิศ ถ้าผ่านการแข่งขันทางด้านการยิงปืน หรือ การล่าสัตว์มาก่อนจะเป็นข้อได้เปรียบในการคัดเลือกเข้ารับการฝึก
              2. สุขภาพร่างกายแข็งแรง: ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกเป็นพลซุ่มยิง จะต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและ ถ้าเคยผ่านการเป็นนักกีฬาในประเภทต่างๆ ก็จะได้เปรียบในการคัดเลือกเข้ารับการฝึก
              3. ความสามารถมารถในการมองเห็น: ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกจะต้องเป็นผู้ที่ไม่ใส่แว่นสายตา เพราะจะเป็นการเสี่ยงต่อความล้มเหลวของภารกิจเมื่อแว่นสายตา ชำรุด หรือสูญหายในพื้นที่ปฏิบัติการ นอกจากนี้จะต้องไม่ตาบอกสี เพราะจะมีปัญหาในการแยกเป้าหมายจากสิ่งแวดล้อม
              4. เป็นผู้ที่ไม่สูบบุหรี่: ผู้ที่เข้ารับการฝึกจะต้องไปเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะเป็นการเปิดเผยที่ตั้งของตนเอง นอกจากนี้การปฏิบัติงานจริงจะต้องอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสูบบุหรี่ได้เป็นระยะเวลานาน การที่ไม่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการยิงลดลง
              5. มีความมั่นคงทางอารมณ์สูง: ผู้ที่เข้ารับการฝึก จะต้องเป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีในภาวะต่าง ๆ เพราะการปฏิบัติงานจริงอาจจะต้องตกอยู่ในภาวะที่มีความกดดันสูง การลั่นไก ณ เวลา และสถานที่ที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติงานของพลซุ่มยิง
              6. มีระดับสติปัญญาที่ดี: ผู้ที่เข้ารับการฝึกนั้นจะต้องเรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ ขีปนวิธี กระสุนลักษณะต่าง ๆ การปรับแต่งอุปกรณ์ช่วยเล็ง การใช้วิทยุสื่อสาร การตรวจการณ์ และการปรับการยิง เครื่องยิงลูกระเบิดและปืนใหญ่ การเดินแผนที่และเข็มทิศ การรวบรวมและรายงานข่าวสาร และการพิสูจน์ฝ่ายและอาวุธยุทโธปกรณ์
 องค์ประกอบชุดซุ่มยิงลาดตระเวน
ในหนึ่งชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจะประกอบไปด้วยกำลังพล 2 นายคือ 1) พลซุ่มยิง (Sniper) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการซุ่มยิง และ 2) พลชี้เป้า (Spotter) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่วัดระยะจากที่วางตัวไปยังเป้าหมายแล้วแจ้งให้พลซุ่มยิงทราบ
 _ _snipers_   foxconn  video clips.flv_001738520

โดยหลักการแล้วการการใช้ซุ่มยิงลาดตระเวนเข้าไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ปฏิบัติการจะมีการดำเนินการอยู่ 3 ขั้นตอนคือ
              ขั้นที่ 1 แทรกซึม: การแทรกซึมเป็นการปฏิบัติที่มีความสำคัญต่อภารกิจเป็นอย่างมากเพราะว่า ถ้าชุดซุ่มยิงถูกตรวจพบ ก็ย่อมจะส่งผลให้ภารกิจที่ได้รับมอบมีโอกาสล้มเหลว การวางแผนในการแทรกซึมจะต้องวางอย่างรัดกุม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งการวางแผนจะต้องใช้ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ การข่าว การลวง ความเร็ว และความคล่องตัว การอำพราง การตรวจจับของข้าศึก และการระวัง
ป้องกัน สำหรับการแทรกซึม  ชุดซุ่มยิงสามารถแทรกซึมเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ ได้จากการแทรกซึมทางอากาศ แทรกซึมสะเทินน้ำทะเทินบก และแทรกซึมทางบก
 _ _snipers_   foxconn  video clips.flv_001741920       _ _snipers_   foxconn  video clips.flv_000030040
    การพรางตัว                                                    การแทรกซึม
ขั้นที่ 2 ปฏิบัติต่อเป้าหมาย: สามารถแบ่งการปฏิบัติย่อย ๆ ออกเป็น การเคลื่อนที่เข้าหาเป้าหมาย การเลือกจุดวางตัว การวางตัวและการตรวจการณ์ การรายงาน และ การถอนตัวออกจากจุดวางตัว
 _ _snipers_   foxconn  video clips.flv_002081357
การเคลื่อนที่เข้าปฏิบัติต่อที่หมาย
ขั้นที่ 3 ถอนตัว: การถอนตัวเป็นการปฏิบัติที่ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดีเพราะว่า ถ้าขาดการวางแผนที่รัดกุมชุดซุ่มยิงอาจจะไม่สามารถออกจาก พื้นที่ที่เข้าไปปฏิบัติการได้ การถอนตัว สามารถกระทำได้โดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ หรือทางยานยนต์ นอกจากนี้ ชุดซุ่มยิงจะต้องเตรียมการในเรื่องของการ หลบหลีกและหลีกหนี (Evasion and Escape) ไว้ด้วย เมื่อถูกไล่ติดตามจากกำลังฝ่ายข้าศึก
 _ _snipers_   foxconn  video clips.flv_000103440
ในการปฏิบัติการทางทหารนั้นการใช้การชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจะมีมาตั้งแต่ในอดีตดังเช่น วีรกรรมของ Zaitsev นั้นเป็นที่กล่าวขานในกองทัพแดง (กองทัพรัสเซียในสงครามโลกครั้งที่ 2) และประชานชนในสตาลินกราด รวมถึงกองทัพเยอรมันเป็นอย่างมาก มีการกล่าวว่า Zaitsev นั้นมี body count ถึง 244 ศพ แต่มีการยืนยันจริง เพียง 144ศพ ส่วนคู่ต่อกรของ Zaitsev นั้นคือ พันตรี Thorwald (ในบางรายงานจะใช้ชื่อ Keonig) ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์จากโรงเรียนพลซุ่มยิง ใกล้กรุงเบอร์ลิน ที่ถูกส่งตัวมายังสตาลินกราดเพื่อทำการยุติบทบาทของ Zaitsev (แต่ไม่มีการยืนยันว่า Thorwald มีตัวตนจริง) เรื่องราวเหล่านี้เป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ทหารที่มีการกล่าวถึงพลซุ่มยิง และได้มีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง Enemy at the Gates
             นอกจาก Zaitsev แล้วพลซุ่มยิงที่มีชื่อเสียงในอดีตอีกคนหนึ่งได้แก่ พันจ่าตรี Carlos N. Hathcock II แห่งนาวิกโยธิน สหรัฐฯ ในสงครามเวียตนาม ที่มี body count 93 ศพ (ไม่ยืนยัน 360 ศพ) ทำให้ฝ่ายเวียดนามเหนือตั้งค่าหัวถึง 30,000 เหรียญสหรัฐ หลังจากสงครามเวียดนาม Carlos ได้รับบาดเจ็บ และเกษียณราชการเมื่อปี ค.ศ. 1979 ไปเป็นครูสอนพลซุ่มยิงให้กับชุดซุ่มยิงของหน่วย SWAT ที่มลรัฐเวอร์จิเนีย ขีดความสามารถของ Carlos เป็นที่กล่าวขานกันเพราะยิงเป้าหมายจากระยะที่ประมาณ 700 หลา โดยจะแทรกซึมจาก ระยะ 1000 หลา โดยใช้เวลาประมาณ 4 วันในการแทรกซึมไปยังจุดวางตัวโดยค่อยๆ คลานเข้าไปที่ระยะ 700 หลา ซึ่งเป็นระยะที่ทำการยิงเป้าหมาย
           จากที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นจะพบว่าในอดีตการใช้ชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการจำกัดการเคลื่อนไหวหรือการปฏิบัติการของข้าศึก ชุดซุ่มยิงลาดตระเวน 1 ชุดสามารถที่จะหยุดการเคลื่อนที่ของทหารหนึ่งกองพลได้ถ้ามีการใช้งานที่เหมาะสม ดังนั้นในการปราบปรามกองโจรที่ก่อความไม่สงบนั้น ชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจะเป็นเครื่องมือทางยุทธวิธีที่จะทำให้กองโจรขาดเสรีในการปฏิบัติ
           อย่างไรก็ดีการใช้ชุดซุ่มยิงลาดตระเวนเป็นเรื่องที่ต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมทั้งนี้เพราะข้อจำกัดในการเลือกยิงเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความละเอียดอ่อนสามารถนำมาใช้เป็นเงื่อนไขได้ การปฏิบัติของชุดซุ่มยิงลาดตระเวน ควรจะนำมาใช้กับกองโจรที่อยู่ในป่าซึ่งเป็นพื้นที่ที่ความชัดเจนว่า ถ้าชาวบ้านปกติคงไม่ถืออาวุธและเข้าไปเดินในป่า ดังนั้นชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจึงเหมาะกับการซุ่มยิงหน่วยรบขนาดเล็ก RKK (Runda Kumpulan Kecil) หรือที่เรียกว่า หน่วยคอมมานโด ของกลุ่มก่อความไม่สงบที่มีลักษณะเป็นหน่วยทหารขนาดเล็กทำงานแบบหน่วยจรยุทธ์ มีกำลังพลเป็นระดับเยาวชนและคนหนุ่มที่ได้รับการฝึกจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการยิงปืน เพื่อก่อความไม่สงบ
           ถึงแม้การใช้ชุดซุ่มยิงลาดตระเวนเข้าทำการซุ่มยิง RKK จะช่วยลดขีดความสามารถของกลุ่มก่อความไม่สงบได้ก็ตาม  แต่การดำเนินการเชิงรุกต่อกลุ่มก่อความไม่สงบคงต้องอาศัยหน่วยทหารขนาดเล็กของฝ่ายเราปฏิบัติการร่วมกับชุดซุ่มยิงลาดตระเวน โดยหน่วยทหารขนาดเล็กจะเป็นหน่วยที่ปฏิบัติการหลักทำการลาดตระเวนอย่างเต็มพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทำการซุ่มโจมตี RKK และเข้าตีโฉบฉวยต่อฐานที่มั่น RKK ส่วนชุดซุ่มยิงลาดตระเวนจะทำหน้าที่สนับสนุน และรวมถึงการปฏิบัติแบบอิสระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น